เมนู

ว่าด้วยมานะลักษณะต่าง ๆ


[830] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ มานะ
อย่างหนึ่ง
ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต. มานะ 2 อย่าง ได้แก่มานะในความ
ยกตน 1 มานะในความข่มผู้อื่น 1. มานะ 3 อย่าง ได้แก่มานะว่า เราดี
กว่าเขา 1 มานะว่า เราเสมอเขา 1 มานะว่า เราเลวกว่าเขา 1. มานะ
4 อย่าง
ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ 1 ให้มานะเกิดเพราะยศ 1
ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ 1 ให้มานะเกิดเพราะสุข 1. มานะ 5 อย่าง
ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ . ให้มานะเกิดว่า เรา
ได้เสียงที่ชอบใจ 1 ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ 1 ให้มานะเกิด
ว่า เราได้รสที่ชอบใจ 1 ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ 1.
มานะ 6 อย่าง ได้แก่บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ 1
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู 1 ให้มานะเกิดเพราะความถึง
พร้อมแห่งจมูก 1 ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น 1 ให้มานะ
เกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย 1 ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่ง
ใจ 1. มานะ 7 อย่าง ได้แก่ความถือตัว 1 ความดูหมิ่น 1 ความถือตัว
และความดูหมิ่น 1 ความถือตัวต่ำ 1 ความถือตัวสูง 1 ความถือตัวว่า
เรามั่งมี 1 ความถือตัวผิด 1. มานะ 8 อย่าง ได้แก่บุคคลให้ความถือ
ตัวเกิดเพราะลาภ 1 ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ 1 ให้
ความถือตัวเกิดเพราะยศ 1 ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ 1
ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ 1 ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะ
ความนินทา 1 ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข 1 ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะ
ทุกข์ 1. มานะ 9 อย่าง ได้แก่มานะว่า เราดีกว่าคนที่ดี 1 มานะว่า

เราเสมอกับคนที่ดี 1 มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี 1 มานะว่า เราดีกว่า
ผู้เสมอกัน 1 มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน 1 มานะว่า เราเสมอ
กับผู้เลว 1 มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว 1 มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว 1
มานะว่า เราเลวกว่าผู้เลว 1. มานะ 10 อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ยังมานะ ให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะ
วัตถุอื่น ๆ บ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความ
กำเริบขึ้น ความฟูขึ้น มานะดังว่า ธงชัย มานะอันประคองจิตไว้ ความ
ที่จิตใคร่ดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า มานะ.
คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วย
ปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา.
ญาตปริญญาเป็นไฉน นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ย่อมเห็นว่า
นี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต นี้เป็นมานะ 2 อย่าง
ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯ ลฯ. นี้เป็นมานะ
10 อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง
เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่น ๆ บ้าง นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญา เป็นไฉน นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่อง
สลัดทุกข์ นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ
บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา.
คำว่า ฟังกำหนดรู้มานะ คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา 3 นี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำหนดรู้มานะ.

[831] ความประพฤติผลุนผลัน ในคำว่า พึงประพฤติเว้นจาก
ความผลุนผลัน เป็นไฉน
ความประพฤติด้วยราคะแห่งคนผู้กำหนัด.
ความประพฤติด้วยโทสะแห่งคนผู้ขัดเคือง ความประพฤติด้วยโมหะแห่ง
คนผู้หลง ความประพฤติด้วยมานะแห่งคนที่มานะผูกพัน ความประพฤติ
ด้วยทิฏฐิแห่งคนผู้ถือมั่น ความประพฤติด้วยอุทธัจจะแห่งคนผู้ถึงความ
ฟุ้งซ่าน ความประพฤติด้วยวิจิกิจฉาแห่งคนผู้ถึงความไม่ตกลง ความ
ประพฤติด้วยอนุสัยแห่งคนผู้ถึงโดยเรี่ยวแรง ชื่อว่าความประพฤติผลุน-
ผลัน (แต่ละอย่าง) นี้ชื่อว่า ความประพฤติผลุนผลัน.
คำว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน ความว่า นรชนพึงเป็น
ผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความ
ประพฤติผลุนผลัน พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงประพฤติ
เที่ยวไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไปรักษา บำรุง เยียวยา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า พึงประพฤติเว้นจากความผลุนผลัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หา
ในรูป พึงกำหนดรู้มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความ
ผลุนผลัน.

[832] ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร
ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็น
ผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.

[833] คำว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ความว่า รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ล่วงแล้ว เรียกว่า สังขารเก่า บุคคลไม่ควร
ยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ ซึ่งสังขารทั้งหลายที่ล่วงแล้วด้วยสามารถ
แห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้
ถึงความไม่มี ซึ่งความชอบใจ ความบ่นถึง ความติดใจ ความถือ
ความยึดถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า.
[834] คำว่า ไม่พึงทำความชอบใจสังขารใหม่ ความว่า รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นปัจจุบัน เรียกว่า สังขารใหม่
ไม่ควรทำความชอบใจ ความพอใจ ความรัก ความกำหนัด ในสังขาร
ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ คือ
ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่พึงทำความชอบใจในสังขารใหม่.
[835] คำว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ความว่า
เมื่อสังขารเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป
ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอก
คร่ำครวญ ไม่พึงถึงความหลงใหล คือ เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก
ไม่พึงลำบากใจ ไม่พึงถือมั่น ไม่พึงร่ำไร ไม่พึงทุบอกคร่ำครวญ ไม่พึง
ถึงความหลงใหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึง
เศร้าโศก.

ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง


[836] ตัณหา เรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ในคำว่า ไม่พึง
เป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล เหตุไรตัณหาจึงเรียกว่ากิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง บุคคลย่อม
เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เหตุนั้น
ตัณหานั้นจึงเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. คำว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลส
เครื่องเกี่ยวข้อง
ความว่า บุคคลไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา พึงละ บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก
สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องตัณหา พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส
อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร
ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็นผู้
อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.

[837] เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว
ความว่องไว (อาชวะ) ว่า เป็นความปรารถนา กล่าว
อารมณ์ว่า เป็นความหวั่นไหว เปือกตมคือกามเป็นสภาพ
ล่วงได้โดยยาก.